Chiang Mai’s alluring past comes alive

นครเชียงใหม่ ในสมัยพระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ กำลังเข้าสู่ช่วงรุ่งเรือง บ้านเมืองเริ่มเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย หลังจากที่ต้องเผชิญศึกสงครามมาในยุคก่อนหน้านี้ ไพร่พลเมืองที่มาจากการกวาดต้อนเทครัว ทำให้เกิดชุมชนรอบเมืองเชียงใหม่ที่หนาแน่นขึ้นเอื้ออำนวยให้เกิดการทำนุบำรุงฟื้นฟูงานศิลปกรรมแขนงต่างๆ


งานศิลปกรรมของเชียงใหม่ในยุคนี้มีความกลมกล่อม และพัฒนาไปสู่ความคลาสสิค รูปแบบ “อ่อนหวาน” ตามรสนิยมพื้นเมือง แต่ก็รับอิทธิพลความเป็นทางการและมีแบบแผนมาจากราชสำนักสยาม รวมไปถึงลักษณะการแต่งกายของชนชั้นสูงในนครเชียงใหม่ ที่ปรากฎอิทธิพลการแต่งกายแบบราชสำนักสยามเข้ามา ในขณะที่รูปแบบผ้าซิ่นตีนจกที่ใช้กันในเหล่าสตรีชั้นสูง พบการคลี่คลายความซับซ้อนของลวดลาย ที่ตกค้างมาตั้งแต่ยุคพม่าปกครองล้านนา เข้าสู่ความเรียบง่ายมากขึ้น คุณค่าความพิเศษของผ้าซิ่นตีนจกล้านนาในยุคนี้ คือ การใช้วัสดุชั้นดีจากต่างแดน อย่าง “ไหมคำ” ที่เป็นผลมาจากการขยายตัวของเส้นทางการค้าทางไกลตอนในภาคพื้นทวีป (คาราวานพ่อค้าม้าต่าง) ซึ่งรูปแบบของผ้าซิ่นตีนจกที่กล่าวมานี้ จะค่อยๆแพร่ขยาย ไปสู่เมืองรายรอบที่อยู่ภายใต้การปกครองของเมืองเชียงใหม่ และเมืองใกล้ชิดที่มีเครือข่ายความสัมพันธ์กันในระดับชนชั้นสูง และกลายเป็นแผนแบบของผ้าซิ่นตีนจกล้านนา ที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้

หากจะเรียกผ้าซิ่นตีนจกกลุ่มนี้ ว่า “ผ้าซิ่นตีนจกแบบคลาสสิคเชียงใหม่” ก็ไม่น่าจะผิดนัก

ร้านวสินผ้าทอไท ได้ฟื้นฟูผ้าซิ่นตีนจกในลักษณะดังกล่าวนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยในกรรมวิธีดั้งเดิมในการผลิตผ้าซิ่นทุกผืนทอด้วยช่างทอ ชาวพื้นเมืองเชียงใหม่จากไหมบ้าน ย้อมสีธรรมชาติ สอดไหมคำโลหะกะไหล่ทอง

Leave a Comment